"เขาผ่านอะไรมา" กับ 5 ข้อชวนคิดจาก Daily Dose of Sunshine
"เขาผ่านอะไรมา" เป็นคำถามที่ควรถามมากกว่า "เขาเป็นอะไรของเขา"
หากใครมีโอกาสได้ดู "Daily Dose of Sunshine" เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับของพยาบาล หมอ และคนไข้แผนกจิตเวช ที่ทำให้นึกถึงพื้นฐานการเติบโตของตัวละคนแต่ละตัว รวมถึงปัจจัยทางสังคมที่มีผลต่อสุขภาพ (Social Determinants of health (SDH)) ซึ่งเมื่อพูดถึงปัจจัยทางสังคม ไม่ใช่เพียงสภาพแวดล้อมที่คนคนนั้นเกิด เติบโต ทำงาน ใช้ชีวิตอยู่ ซึ่งมันคือระบบที่กว้างมากๆ ทั้ง เศรษฐกิจ สังคม บรรทัดฐาน การเมือง etc. ล้วนแต่เป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิต ถ้าหากสังเกตดูช่วงนหลังๆนี้มีการพูดถึงเรื่องสุขภาพจิตกันมากในระดับองค์กร
5 ข้อชวนคิดจากซีรี่เรื่องนี้และสามารถนำไปทบทวนตัวเอง
1. "การยอมรับ" หลายตัวละครล้วนแสดงให้เห็นถึงความต้องการการยอมรับ การมองเห็นในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งจากบุคคลอื่น ในโลกความเป็นจริงก็เป็นเช่นนั้น ไม่ว่าจะการทำงานหามรุ่งหามค่ำเพื่อทำงานสำคัญให้เสร็จหรือน้องใหม่ที่ต้องการพิสูจน์ตัวเอง, งานคือความรับผิดชอบของฉัน, ผลงานดีจนมีแต่ใครๆเรียกหาจนลืมนึกถึงเรื่องเวลาและขอบเขตของอีกฝ่าย, เด็กๆที่สอบไม่ได้ถูกกดดันด้วยคำพูด คนรอบข้าง ไม่มีตัวตน และสุดท้ายติดเกมส์เพราะในโลกเสมือนเขามีตัวตน เขาต่อสู้ชนะ
2. "Empathy กับ Sympathy ห่างกันแค่เส้นบางๆ" การเข้าอกเข้าใจผู้อื่นในมุมของเขาเป็นเรื่องที่ดี แต่หากเราทำจนลืมตัวเองไป การกระทำ ความคิด ความรู้สึก จมลึกไปกับเรื่องราว อาจทำให้เราข้ามไปสู่เขตของ Sympathyได้ เพราะเราผันความสัมพันธ์เป็นความผูกพันธ์
3. "เราต่างเป็นกระจกสะท้อนของใครอีกคน" เรื่องราวของชีวิตหนึ่งอาจเป็นกระจกสะท้อนของใครอีกคนก็ได้ ลองเรียนรู้ เข้าใจ แล้วจะเข้าใจตัวเองมากขึ้น
4. "ทบทวนตัวเอง" การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว สิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป คนส่วนใหญ่จึงให้ความสำคัญกับสิ่งรอบตัว ไม่ว่าจะงาน คนอื่น ตำแหน่ง หน้าที่ แต่สิ่งที่คนเหล่านั้นลืมคือการให้เวลากับตัวเองมานั่งทบทวนใจตัวเอง ความคิด ความรู้สึก ความต้องการ ของตน ลองจัดเวลาให้ได้ทบทวนตัวเองกับสมุดคู่ใจเล็กๆดู
5. "พื้นที่ปลอดภัยให้ใครบางคน" อันนี้อยากชวนสังเกตตัวเอง สภาวะใจตัวเอง การเป็นพื้นที่ปลอดภัยให้ใครบาง ให้อยู่ในความพอเหมาะพอดี ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องสังเกตเอง บางครั้งเราเป็นพื้นที่ปลอดภัยให้เขาโดยลืมดูแลใจตัวเอง อนุญาตให้ใครใครเข้ามาในพื้นที่ของเราโดยไม่รู้ตัว และอีกมุมหนึ่งเป็นพื้นที่ปลอดภัยให้ผู้อื่นจนไม่ได้สร้างพื้นที่ความกล้าให้กับพวกเขาเลย
"Psychological Safety" ความปลอดภัยเชิงจิตวิทยา มีการพูดถึงกันเยอะมาก เป็นคำที่ค่อนข้างใหญ่เชื่อมโยงกับหลายมิติไม่ว่าจะการทำงานรวมถึงมิติอื่นของชีวิต ในเรื่องทำให้เห็นความปลอดภัยเชิงจิตวิทยาที่ต่ำในที่ทำงานอย่างเห็นได้ชัด เจ้านายที่โหดแสนโหด ดุ ด่า ว่า กล่าวโทษ ลดทอนตัวตนของอีกฝ่าย ลุกล้ำพื้นที่ส่วนตัว ความปลอดภัยเชิงจิตวิทยาทำให้เกิดขึ้นจริงไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ได้แปลว่าทำให้เกิดขึ้นไม่ได้ ต้องอาศัยการร่วมมือของทุกคน
ไม่แปลกใจเลยที่ Tasha Eurich บอกไว้ "Self-Awareness is the meta-skill of the 21st century" เมื่อไหร่ที่เรามี Self-wareness เราจะรู้จัก Boundary ของตัวเองได้ไม่ยาก
เราต่างรู้และไม่รู้ว่าเราผ่านอะไรมาบ้าง หลายอย่างก็เข้ามากระทบใจ และส่งต่อสิ่งที่ไปกระทบใจคนอื่นด้วยเช่นกัน
(Ref. https://www.who.int/health-topics/social-determinants-of-health#tab=tab_1)